วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

การสร้างขั้นบันไดดิน

ถ้าในพื้นที่นั้นมีก้อนหินมากพอที่จะนำมาสร้างเป็นผนังด้านข้างของขั้นบันไดดิน ได้ก็นำก้อนหินมาก่เรียงกันไปตามแนวของขั้นบันไดดินที่วางไว้ เพื่อเป็นขอบของขั้นบันไดดินจนเต็มผิวหน้าของผนังขั้นบันไดดินแล้วทำการก่อสร้างขั้นบันไดดินจนเสร็จตลอดแนว การดำเนินการแบบนี้ขั้นบันไดดินแรกที่จัดทำจะจัดทำจากแนวต่ำสุดของพื้นที่ไล่ขึ้นไปสู่แนวที่สูงกว่าทีละแนวจนถึงยอดสุดของพื้นที่ ปกติทั่วไปการสร้างขั้นบันไดดินควรเริ่มต้นจากแนวสูงสุดของพื้นที่ที่เป็นแนวแรกและดำเนินการแนวล่างถัดลงไปต่อๆกันเรื่อยๆซึ่งการดำเนินการแบบนี้จะง่ายและสะดวกในการดำเนินงานและสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายอันพึงจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากฝนตกหนักในการดำเนินการก่อสร้างแต่ในกรณีที่การก่อสร้างขั้นบันไดดินโดยคำนึงถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลักใหญ่ในการดำเนินงานคือมีการนำหน้าดินข้างบนแนวก่อสร้างมาเกลี่ยกลบขั้นบันไดดิน และในกรณีที่ผนังด้านข้างของขั้นบันไดดินทำด้วยก้อนหิน การก่อสร้างขั้นบันไดดินแนวแรกควรเริ่มต้นจากแนวต่ำสุดของพื้นที่ไล่ขึ้นไปสู่แนวถัดไปที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดสูงสุดของเนิน ระหว่างการก่อสร้างควรทำการตรวจสอบว่าได้ดำเนินการตามแบบแปลนที่วางไว้ทุกอย่างหรือไม่ ไม่ว่าความกว้างของขั้นบันไดดินความลาดเอียงของผนังด้านข้างความลาดเอียงของพื้นผิวขั้นบันไดดิน ตลอดจนการลดระดับสู่ทางระบายน้ำเป็นต้น ถ้ามีอะไรผิดจากแบบที่วางไว้ต้องทำการแก้ไขทันที



ปกติทั่วไปการ สร้างขั้นบันไดดินควรเริ่มต้นจากแนวสูงสุดของพื้นที่ที่เป็นแนวแรกและดำเนิน การแนวล่างถัดลงไปต่อๆกันเรื่อยๆซึ่งการดำเนินการแบบนี้จะง่ายและสะดวกในการ ดำเนินงานและสามารถหลีกเลี่ยงความเสียหายอันพึงจะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากฝน ตกหนักในการดำเนินการก่อสร้างแต่ในกรณีที่การก่อสร้างขั้นบันไดดินโดยคำนึง ถึงความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลักใหญ่ในการดำเนินงานคือมีการนำหน้าดินข้าง บนแนวก่อสร้างมาเกลี่ยกลบขั้นบันไดดิน และในกรณีที่ผนังด้านข้างของขั้นบันไดดินทำด้วยก้อนหิน การก่อสร้างขั้นบันไดดินแนวแรกควรเริ่มต้นจากแนวต่ำสุดของพื้นที่ไล่ขึ้นไป สู่แนวถัดไปที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดสูงสุดของเนิน ระหว่าง การก่อสร้างควรทำการตรวจสอบว่าได้ดำเนินการตามแบบแปลนที่วางไว้ทุกอย่างหรือ ไม่ ไม่ว่าความกว้างของขั้นบันไดดินความลาดเอียงของผนังด้านข้างความลาดเอียงของ พื้นผิวขั้นบันไดดิน ตลอดจนการลดระดับสู่ทางระบายน้ำเป็นต้น ถ้ามีอะไรผิดจากแบบที่วางไว้ต้องทำการแก้ไขทันที 


เงื่อนไขที่ใช้ในการดำเนินงานการปลูกพืชแบบขั้นบันได


ในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง แต่ต้องการทำขั้นบันไดดินแบบนี้ดินจำเป็นต้องมีความลึกพอควร ลึกตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของรากพืชที่ปลูก

ในพื้นที่ที่มีความลาดชันแม้เพียงเล็กน้อย ถ้าต้องการปลูกพืชผัก พืชไร่ หรือไม้ดอก ไม้ประดับ ที่ต้อการความสะดวกในด้านการบริหารและจัดการเพาะปลูกอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดก็จำเป็นต้องจัดเตรียมพื้นที่ตามต้นแบบดังกล่าวมานี้เช่นกัน ในทำนองเดียวกันก็สามารถใช้พื้นที่ดังกล่าวในการเพาะปลูกไม้ผล ได้เช่นกัน เนื่องจากการปรับพื้นที่ให้เป็นขั้นบันไดดินจะทำให้การดำเนินการทุกกิจกรรมไม่ว่าการไถ
เตรียมพื้นที่การขนส่งปุ๋ย วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือทางการเกษตร การใส่ปุ๋ย การใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืนและไม่ก่อให้เกิดตะกอนดินไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลองหรือพื้นที่ต่างๆ ที่ต่ำกว่า

ต้นแบบการทำนาขั้นบันได



  1. ตย.นาขั้นบันได
  2. การพัฒนาการปลูกข้าวจากระบบข้าวไร่มาเป็นระบข้าวนาดำในนาขั้นบันไดนั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างมาก จาก 1 ไร่ เกษตรกร 4 ราย ในปี พ.ศ. 2546 มาเป็น 302 ไร่ เกษตรกร 161 ราย ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการศึกษาทดลอง และปรับใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อระบบการปลูกข้าวแบบนาดำในพื้นที่ที่มี ความสูงประมาณ 900  เมตร โดยใช้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงในพื้นราบได้แก่ พันธุ์แพร่ 1 และการปรับใช้พันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่มาปลูกในสภาพนาดเช่น พันธุ์กายขาว หนอนเหลือง กายแดง บุ้ง ฮ้าว กายลาย ข้าวซิว เป็นต้น ซึ่งทุกพันธุ์สามารถปลูกได้ในสภาพนาดำ ผลผลิตข้าวเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ ศัตรูพืชที่พบมาก ได้แก่ โรคไหม้ นาขั้นบันไดเหนอนกอสีครีม ซึ่งมีแนวโน้มทำความเสียหายต่อข้าวในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ต้องมีการพัฒนาระบบการใช้น้ำ เพื่อให้มีการใช้น้ำปลูกข้าวนาดำอย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อพื้นที่ การพัฒนาการปรับปรุงบำรุงดินให้ธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของข้าวยัง ต้องศึกษา และดำเนินการต่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปลูกข้าวนาดำในนาขั้นบันไดของ เกษตรกรในโครงการ ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการทำนาขั้นบันไดในพื้นที่จังหวัดน่านและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆในที่สุด

 ต้นแบบการทำนาขั้นบันไดแบบที่ 2 

การทำนาขั้นบันไดในโครงการพัฒนาบ้านกอก - บ้านจูน (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เป็นการปฏิบัติงานที่น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่จะต้องทำให้ราษฎรมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค ในช่วงการดำเนินงาน พ.ศ. 2546 - 2552 นั้น ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จขึ้นเป็นลำดับ มีการพัฒนาการปลูกข้าวแบบข้าวไร่มาเป็นการปลูกข้าว แบบนาขั้นบันได และพัฒนาไปสู่การปลูกข้าวแบบนาดำในนาขั้นบันไดในที่สุด การดำเนินงานที่เริ่มด้วยการศึกษาทดลองและสาธิตในแปลงทดลองในปี 2546-2547 แล้วขยายผลไปสู่แปลเกษตรกรในปี 2547-2552  มีกระบวนการทำให้เกิดนาน้ำขังด้วยแรงงานคนและเครื่องจักรกลขนาดเล็ก แล้วพัฒนาไปเป็นการปลูกข้าวแบบนาดำ นำเทคโนโลยีที่ได้ไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีการทำนาขั้นบันไดเพิ่มขึ้น

ประวัติความเป็นมาการปลูกพืชแบบขั้นบันได


เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จเยี่ยมราษฎรบ้าน
จูนใต้ซึ่งเป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านกอก ต.ภูคา อ.ปัว จ.น่าน ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรที่
มีความด้อยโอกาส ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคมสภาพป่าในพื้นที่ ที่เป็นแหล่งต้นน้ำ มีสภาพเสื่อมโทรม จึงได้มีพระราชดำริกับหัวหน้าส่วนราชการที่เข้าเฝ้ารับเสด็จฯให้ดำเนินการช่วยเหลือพัฒนาราษฎร โดยทรงเน้นการพัฒนาให้เจริญจากข้างในก่อนแล้วค่อยระเบิดออกไปข้างนอก

ความหมาย



การปลูกพืชแบบขั้นบันได


การปลูกพืชแบบขั้นบันได คือการสกัด ไหล่เขาให้เป็นชั้นๆลดหลั่นลงมาเป็นขั้นบันได เพื่อช่วยเพิ่มเนื้อที่ในการเพาะปลูก เป็นการรักษาหน้าดินไม่ให้ถูกชะล้างไป อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำทั้งในแง่การชลประทานโดยการเก็บกักน้ำฝน นาขั้นบันไดเป็นตัวอย่างหนึ่งของภูมิปัญญาแบบท้องถิ่น ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นสมบัติของโลกและมวลมนุษยชาติ ในปัจจุบันนี้ ยังผลให้การบุกรุกเพื่อแผ้วถางป่าเพื่อใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกที่จะต้องขยายออกไปในทุกปีนั้นยุติลงโดยสิ้นเชิง
เพื่อการปลูกพืชผัก ไมดอกไมประดับ และพืชไรในพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กนอยจนกระทั่งมีความลาดชันสูง ทำให้ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงก็ได
อรรถประโยชนและประโยชน ใช้สอย โดย พิพัฒน์ ไทยกล้า
สามารถเพาะปลูกพืชผัก ไมดอกไมประดับ และพืชไรได ในพื้นที่ที่มีความลาดเทตั้งแตเล็กนอยจนกระทั่งพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงไดและตองจัดเตรียมทางระบายนํ้าไว้เป็นอย่างดี ก็เพื่อปองกันการแชขังของนํ้าในชวงฝนตกชุกดังภาพขางบน  ซึ่งระบายน้ำที่ด้านในสุดของบันได
สามารถเก็บกักนํ้าหรือระบายน้ำออกจากพื้นที่ไดงายและสะดวก เนื่องจากแตละชั้นของขั้นบันไดมีทั้งคันดินกั้นนํ้าขนาดเล็กที่ขอบนอกของขั้นบันได และทางระบายออกสูทางระบายนํ้าธรรมชาติหรือทางระบายนํ้าหลักที่สรางขั้นมาอยางเหมาะสมในพื้นที่