วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้นแบบการทำนาขั้นบันได



  1. ตย.นาขั้นบันได
  2. การพัฒนาการปลูกข้าวจากระบบข้าวไร่มาเป็นระบข้าวนาดำในนาขั้นบันไดนั้น มีจำนวนเพิ่มขึ้น อย่างมาก จาก 1 ไร่ เกษตรกร 4 ราย ในปี พ.ศ. 2546 มาเป็น 302 ไร่ เกษตรกร 161 ราย ในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการศึกษาทดลอง และปรับใช้พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมต่อระบบการปลูกข้าวแบบนาดำในพื้นที่ที่มี ความสูงประมาณ 900  เมตร โดยใช้พันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงในพื้นราบได้แก่ พันธุ์แพร่ 1 และการปรับใช้พันธุ์ข้าวไร่ในพื้นที่มาปลูกในสภาพนาดเช่น พันธุ์กายขาว หนอนเหลือง กายแดง บุ้ง ฮ้าว กายลาย ข้าวซิว เป็นต้น ซึ่งทุกพันธุ์สามารถปลูกได้ในสภาพนาดำ ผลผลิตข้าวเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 500 กิโลกรัมต่อไร่ ศัตรูพืชที่พบมาก ได้แก่ โรคไหม้ นาขั้นบันไดเหนอนกอสีครีม ซึ่งมีแนวโน้มทำความเสียหายต่อข้าวในพื้นที่ได้ นอกจากนี้ต้องมีการพัฒนาระบบการใช้น้ำ เพื่อให้มีการใช้น้ำปลูกข้าวนาดำอย่างเพียงพอและเหมาะสมต่อพื้นที่ การพัฒนาการปรับปรุงบำรุงดินให้ธาตุอาหารเพียงพอต่อความต้องการของข้าวยัง ต้องศึกษา และดำเนินการต่อเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปลูกข้าวนาดำในนาขั้นบันไดของ เกษตรกรในโครงการ ซึ่งจะเป็นต้นแบบของการทำนาขั้นบันไดในพื้นที่จังหวัดน่านและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆในที่สุด

 ต้นแบบการทำนาขั้นบันไดแบบที่ 2 

การทำนาขั้นบันไดในโครงการพัฒนาบ้านกอก - บ้านจูน (อันเนื่องมาจากพระราชดำริ) เป็นการปฏิบัติงานที่น้อมนำพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถมาเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน มีการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่จะต้องทำให้ราษฎรมีข้าวเพียงพอต่อการบริโภค ในช่วงการดำเนินงาน พ.ศ. 2546 - 2552 นั้น ผลการดำเนินงานมีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จขึ้นเป็นลำดับ มีการพัฒนาการปลูกข้าวแบบข้าวไร่มาเป็นการปลูกข้าว แบบนาขั้นบันได และพัฒนาไปสู่การปลูกข้าวแบบนาดำในนาขั้นบันไดในที่สุด การดำเนินงานที่เริ่มด้วยการศึกษาทดลองและสาธิตในแปลงทดลองในปี 2546-2547 แล้วขยายผลไปสู่แปลเกษตรกรในปี 2547-2552  มีกระบวนการทำให้เกิดนาน้ำขังด้วยแรงงานคนและเครื่องจักรกลขนาดเล็ก แล้วพัฒนาไปเป็นการปลูกข้าวแบบนาดำ นำเทคโนโลยีที่ได้ไปถ่ายทอดสู่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีการทำนาขั้นบันไดเพิ่มขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น